Montessori Education

               “เด็กที่ไม่เคยเรียนรู้การทำงานด้วยตนเอง ตั้งเป้าเอง หรือทำสิ่งใดๆ ด้วยตนเอง สามารถพบเห็นได้ในผู้ใหญ่ที่มักให้ผู้อื่นเป็นผู้นำทาง และให้ความเห็นชอบในทุกๆ เรื่อง...”

               เด็กที่ไม่ได้รับการส่งเสริมในด้านต่างๆ และถูกกดดัน มักจะทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ทำให้เด็กกลายเป็นคนขี้ขลาด ไม่มีความมั่นใจ เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะกลายเป็นคนที่คิดมาก ยอมคน และไม่สามารถควบคุมจิตใจตนเองไม่ให้ทำผิดได้ 

               หากมีการสั่งสอนให้เด็กทำในสิ่งต่างๆ ทั้งที่บ้าน และโรงเรียน ซึ่งเป็นการสั่งสอนที่ไม่ได้คำนึงถึงเหตุผลและความยุติธรรม จะทำให้เด็กนั้นกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ปฏิเสธตัวเองกับทุกสิ่งทุกอย่างในตอนโต

               ความคิดเห็นในด้านการศึกษาของมอนเตสซอรีในขณะนั้น ถือว่าค่อนข้างจะแหวกแนวสำหรับยุคนั้น ในสมัยดังกล่าว เด็กยังถูกมองว่าไม่ได้มีระเบียบวินัยโดยธรรมชาติ ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ และควรได้รับการสั่งสอนให้อยู่ในกฎระเบียบอย่างสม่ำเสมอ การเน้นการศึกษาจะเกิดขึ้นในช่วงปีหลังๆ มากกว่าในตอนเด็ก

               มอนเตสซอรีเป็นคนแรกที่ตระหนักเรื่องดังกล่าว แล้วยืนหยัดเพื่อสิทธิของเด็กเล็ก การอบรมของเธอในฐานะนักวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าเธอไม่ได้มีความรู้พื้นฐานใดๆในด้านการสอนเลย แต่ในการติดตามพฤติกรรมของเด็กทำให้เกิดความเข้าใจว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่สามารถกระตุ้นเด็กได้ เพราะในขั้นแรกเธอปล่อยให้เด็กแสดงออกโดยอิสระอย่างเต็มที่ ให้เด็กได้บรรลุถึงสิ่งที่ตนมุ่งหวังและเป็นตัวของตัวเอง อันเป็นสิ่งที่นักการศึกษามักมองข้ามขั้นตอนที่สำคัญในช่วงขวบปีเหล่านี้ไป ซึ่งโดยแท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ สิ่งที่เห็นทำให้มอนเตสซอรี่ยิ่งมั่นใจว่าควรมีการจัดการศึกษาที่ด้วยวิธีที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อให้เด็กเกิดความมีอิสระ อันจะเป็นพื้นฐานให้เกิดการพัฒนาเด็กโดยธรรมชาติ

Montessori Education

               เธอเห็นว่าเด็กให้ความสำคัญต่อกระบวนการมากกว่าผลที่ได้ โดยสมาธิเป็นกุญแจสำคัญในการ
พัฒนาสติปัญญา ส่วนวินัยควรเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการภายในมากกว่าการได้รับคำสั่งจากภายนอก  เธอยังเห็นด้วยว่าเด็กมีธรรมชาติของความต้องการและรักที่จะทำงานเอง และจะสามารถประสบความสำเร็จได้เกิดคาด หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมที่จะสามารถเลือกทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตนเอง

               เธอเชื่อว่าการศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคม เธอเป็นนักต่อสู้เพื่อเด็กๆ ที่แท้จริงและยังได้ท้าทายนักการศึกษาทั่วโลกด้วยการกล่าวถึงผลเสียจากการให้การศึกษาในทางที่ผิดที่เธอรับรู้ได้

               “การศึกษาในปัจจุบันทำให้คิดไม่เป็น ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง เด็กจะกลายเป็นคนที่ไร้ความสำคัญในสังคม

               การให้การศึกษาในทุกยุคสมัยที่ผ่านมานั้น  ขณะนี้ได้กลายเป็นอาชญากรรมและเป็นบาป การ
ศึกษาที่สกัดกั้นการเกิดขึ้นของจริยธรรมและทำให้เกิดอุปสรรคขวางกั้นพัฒนาการของสติปัญญาซึ่งทำให้ประชากรกลายเป็นคนไม่รู้ ถือเป็นอาชญากรรม”

               การศึกษาที่ดีเป็นผลมาจากพัฒนาการของเด็ก   ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างเด็กกับผู้สอน
เป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษา    สิ่งใดที่เอื้อประโยชน์กับสิ่งนี้ จะเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาด้วย 
ความสามารถของเด็กในการอดทนต่อแรงกัดดันจะเพิ่มขึ้นถ้าแรงกดดันนั้นไม่มากเกินกว่าที่เด็กจะรับได้

               นักการศึกษาที่ดีควรให้สื่อการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละคนในช่วงนั้นๆ  การก้าวของพัฒนาการจากช่วงหนึ่งไปยังช่วงต่อไปนั้น จะดีที่สุดเมื่อทำให้เกิดความพึงพอใจในระดับที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

               ผู้ให้การศึกษาที่ดีควรมีทัศนคติที่ดีต่อสัญชาติญาณของเด็ก และควรเข้าใจถึงศักยภาพในการเรียนรู้ของเด็ก  ไม่ควรมีความลับต่อกัน

  • จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือเป็นแก่นแท้ในกระบวนการสร้างสรรค์มนุษยชาติ
  • การศึกษาไม่ควรเน้นหนักในส่วนใดส่วนหนึ่ง ควรจะเป็นการศึกษาแบบองค์รวม
  • การวางแผนการศึกษาต้องมีความต่อเนื่อง ให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก
  • ผู้สอนต้องกระตุ้น และแนะนำกิจกรรมตามวัยของเด็ก โดยจัดสภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กได้ตระหนักในตนเอง และเพื่องดการกระทำที่จะปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
  • การให้ความเคารพในบุคลิกภาพที่เป็นตัวตน และเชื่อมั่นในศักยภาพภายในของเด็ก สิ่งจำเป็นพื้นฐานในการวางรากฐานการศึกษาที่เหมาะสมต่อไป